ทางเดินอาหารอักเสบเฉียบพลันจากไวรัส

ทางเดินอาหารอักเสบอย่างเฉียบพลันจากไวรัส ประกอบด้วยอย่างน้อยสองกลุ่มที่มีความแตกต่างทางระบาดวิทยา คือ ทางเดินอาหารอักเสบจากไวรัสชนิดประปราย (Sporadic viral gastroenteritis) หรือ ลำไส้อักเสบจากโรทาไวรัส อีกกลุ่มคือ ทางเดินอาหารผิดปกติจากไวรัสชนิดที่มีการระบาด (Epidemic viral gastroenteropaty)

โรทาไวรัส ROTAVIRAL ENTERITIS

ลักษณะโรค

  • มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหารชนิดรุนแรง ที่พบได้บ่อยที่สุดร้อยละ 50ในทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้อุจจาระร่วงและอาเจียน และพบบ่อยคือมีอาการขาดน้ำรุนแรงและเสียชีวิตในกลุ่มผู้มีอายุน้อย เพราะเสียของเหลวจากร่างกายทางอาเจียนและทางอุจจาระ ผู้ป่วยทุติยภูมิจากการสัมผัสในครอบครัวพบได้บ่อยเฉพาะเด็ก ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการเกิดขึ้นได้บ่อย อุจจาระของเด็กเหล่านี้มีลักษณะเด่นคือเป็นน้ำมีฟอง กลิ่นเปรี้ยวมีฤทธิ์เป็นกรด

การวินิจฉัยโรค

  • ไวรัสสามารถแยกได้จากอุจจาระและ Rectal swab หรือวิธีทางอิมมูโนวิทยา สามารถตรวจโดยวิธี ELISA, CF, IF neutralization ในเซลล์เพาะเลี้ยง และวิธีตรวจทางน้ำเหลืองอื่นๆ อาจตรวจพบ Adenovirus 40 และ 41 ในผู้ป่วยบางรายที่ป่วยด้วยทางเดินอาหารอักเสบอย่างเฉียบพลันในทารก ซึ่งพบโดยวิธี genus specific ELISA

สาเหตุ

  • โรทาไวรัส ขนาด 70 nm (แต่เดิมเรียก Orbivirus, revoirus like, duovirus) อยู่ในตระกูล Revoiridae ซึ่งมีอย่างน้อย 4 serotyps ที่พบในมนุษย์ โรตาไวรัสในมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับโรทาไวรัสในสัตว์ โดยมีชนิดแอนติเจนบางส่วนร่วมกัน

วิธีติดต่อ

  • น่าจะเป็นจากอุจจาระสู่ปาก และเป็นไปได้ว่าจากอุจจาระสู่ทางเดินหายใจ

ระยะฟักตัว

  • 48 ชั่วโมง โดยประมาณ

ระยะติดต่อ

  • ในระยะที่เป็นโรคอย่างเฉียบพลันและหลังจากนั้น ในขณะที่มีอาการจะมีการปล่อยไวรัสออกมา ไวรัสไม่สามารถพบได้หลังจากวันที่ 8 ของการป่วย ถึงแม้จะมีรายงานว่าบางรายมีการปล่อยไวรัสได้นานถึง 23 วัน

อาการและอาการแสดง

  • ถ่ายเป็นน้ำร่วมกับอาการไข้และอาเจียน เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้น้อยลงเป็นอาการเด่น อาการถ่ายเหลวมักจะหายได้เองโดยเป็นอยู่ประมาณ 3-8 วัน และพบบ่อยที่มีอาการขาดน้ำรุนแรง ซึ่งต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ถ้าให้อาหารไม่เหมาะสมจะมีเด็กจำนวนหนึ่งเกิดภาวะทุพโภชนาการเพราะไวรัสก่อภยันตรายต่อเยื่อยุลำไส้ทำให้การดูดซึบกพร่องระยะหนึ่ง

การระบาดของโรค

  • พบทั่วโลก ทั้งแบบเป็นครั้งคราวประปรายและแบบมีการระบาดร้อยละ 50 ที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลด้วยอาการอุจจาระร่วง ในผู้ป่วยที่เป็นทารกและเด็กเล็ก (กลุ่มอายุ 6-24 เดือน) และร้อยละ 25 ของการเจ็บป่วยด้วยอาการอุจจาระร่วงในกลุ่มอายุนี้ เด็กในประเทศพัฒนาส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันตั้งแต่อายุไม่ถึง 12 เดือนและเกือบทั้งหมด(ร้อยละ 95)เคยติดเชื้อก่อนอายุ 24 เดือน โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 3 เดือนถึง 2 ปี แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่าประมาณร้อยละ 80 จะติดเชื้อก่อนอายุ 3 ปี และพบมากที่สุดในช่วงอายุ 1-2 ปี พบอุบัติการณ์ของการเกิดโรคสูงในช่วงฤดูหนาว (ตุลาคม-มีนาคม) โดยเฉพาะในแถบประเทศเขตอบอุ่น การระบาดเคยพบในบ้านพักฟื้นคนชราในแถบอากาศอบอุ่นเกือบทั้งหมดพบในเดือนที่อากาศเย็น สำหรับในแถบอากาศร้อน พบได้ตลอดปีแต่จะมีมากขึ้นในเดือนที่ผนตกและค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นและพบสูงสุดในเดือนธันวาคม-มกราคม serotype 2 พบได้ในประเทศไทยทุก 1-2 ปี serotype 3 พบได้น้อยในประเทศไทย ส่วน serotype 4 พบเมื่อมีการระบาดและเคยระบาดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ 2525-2526 การติดเชื้อในผู้ใหญ่ส่วนมากเป็นแบบไม่แสดงอาการ และการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการยังพบได้ในทารกแรกเกิดในบางพื้นที่

การรักษา

  • เนื่องจากโรทาไวรัสทำลายเซลล์ที่ปลายของ intestinal villi เฉพาะบางส่วนของลำไส้เล็ก ไม่ได้เป็นตลอดความยาวของลำไส้ จึงยังพอให้การรักษาด้วย oral rehydration treatment (ORT) แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีการสูญสมดุลอิเล็กโตรลัยท์มาก หรืออาเจียนมากจนกินไม่ได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ดังนั้นการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วทันการ จะช่วยลดอัตราการตายได้มาก

Loading